การเสริมสร้างสังคมสุขภาวะของชุมชนท้องถิ่น กรณีศึกษา พื้นที่วังปลาแม่ลาก๊ะ ต.เมืองปอน อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน

31 ส.ค. 2561 |


ABSTRACT
การเสริมสร้างสังคมสุขภาวะของชุมชนท้องถิ่นโดยการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา พื้นที่วังปลาแม่ลาก๊ะ ตำบลเมืองปอน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ดำเนินงานเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ จนถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองปอนและชาวบ้านแม่ลาก๊ะ โดยผลการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพชนิดพันธุ์สัตว์น้ำทั้งฤดูร้อน ฤดูฝน และ ฤดูหนาว พบว่า วงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ปลาช่อน (Channidae) และวงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae) เป็นครอบครัววงศ์ปลาที่พบทั้ง 3 ฤดู จากการคำนวณร้อยละความถี่ของการพบพันธุ์ปลาที่บ่งชี้ลักษณะการแพร่กระจายของพันธุ์ปลาและความสามารถในการอยู่อาศัย หรือการแพร่กระจาย และช่วงเวลา พบว่าพันธุ์ปลาที่มีความถี่ของการพบมากที่สุดมีอยู่ ๓ ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาพลวงหิน ปลากระทิง และปลาก้าง และในส่วนของค่าดัชนีความหลากหลายพบว่า ในฤดูร้อนมีค่าดัชนีความหลากหลายมากที่สุดที่ ๒.๖๖ และตัวแปรการใช้ประโยชน์จากวังปลาแม่ลาก๊ะ มีความสัมพันธ์กันต่อการอนุรักษ์วังปลาแม่ลาก๊ะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p-value = 0.01) โดยตัวแปรดังกล่าวน่าจะเป็นปัจจัยขยายผลของการอนุรักษ์วังปลาแม่ละก๊ะ รวมถึงใช้การขับเคลื่อนประเด็นอื่น ๆ ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในลำดับต่อไป


VDO : https://youtu.be/9ppeHCH0WZw
https://youtu.be/GVcgtRh47Ww
https://youtu.be/TFiIVM9qDF0