“ภูมิ” คือ สภาพแวดล้อม ที่อยู่รอบๆ อันได้แก่
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และ
สังคม คือ มนุษย์ที่อยู่ในสภาพแวดล้อม ในการที่จะพัฒนาอะไรหรือทำการสิ่งใด ให้ยึดหลักสำคัญ คือความสอดคล้องกับ
ภูมิสังคม คือ คำนึงถึงสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม หมายรวมถึง คนซึ่งย่อมมีขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ และวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ตลอดจนควรตระหนักถึงอัตลักษณ์และภูมิปัญญาในท้องถิ่นนั้นๆ๑ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการดิน น้ำ ป่า อย่างสมดุลด้วยกระบวนทัศน์ตามแนวทางพระราชดำรินั้นล้วนเอื้อให้เกิดผลดีต่อระบบนิเวศ
เมื่อมีระบบนิเวศดี ผลพวงที่ตามมาก็คือ ระบบนิเวศ หรือ ธรรมชาติจะให้ผลผลิตที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงของปัจเจกชนในสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน ประชาชนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่าง
“พออยู่พอกิน”[1] รวมถึงเป็นปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อสุขภาพของมนุษย์
เนื่องจากมนุษย์เป็นส่วนประกอบหนึ่งของระบบนิเวศของโลก
สุขภาพของมนุษย์ล้วนเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งการจะรักษาไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตทั้งของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นให้สำเร็จได้นั้น มนุษย์ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง เพื่อนำไปสู่
สิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนสุขภาพ (Supportive Environments for Health) ที่ต้องเกิดจากความร่วมมือกันในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับโลก
[2]
ภาพชุดกิจกรรมรณรงค์ "สร้างภูมิ คุ้มนิเวศ" ปฏิบัติการชุมชนภิวัฒน์รับมือภาวะโลกร้อน
กิจกรรมรณรงค์ “สร้างภูมิ คุ้มนิเวศ” ปฏิบัติการชุมชนภิวัฒน์รับมือภาวะโลกร้อน (๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3 สสส.) เทศบาลตำบลเกาะสีชัง และภาคีเครือร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมรณรงค์ มีผู้ร่วมกิจกรรมรณรงค์จำนวน 443 คน โดยได้ดำเนินกิจกรรมทั้งหมด 3 กิจกรรม ได้แก่
- การเก็บขยะพื้นที่ชายฝั่ง โดยผู้ร่วมกิจกรรมรณรงค์ บริเวณพื้นที่เป้าหมาย 2 พื้นที่ ได้แก่ ๑) หาดถ้ำพัง ๒) บ้านเกาะขามใหญ่
- การจับขยะพื้นที่ทะเล โดยผู้ร่วมกิจกรรมรณรงค์ (ชาวประมงพื้นบ้านและชมรมเรือเล็ก) ดำเนินการลาก ล้อม จับขยะบนผิวน้ำบริเวณหน้าเกาะขามใหญ่
- การส่งขยะกลับขยะบ้าน โดยผู้ร่วมกิจกรรมรณรงค์ ร่วมกันลำเลียงขยะไปยังศูนย์กำจัดขยะเทศบาลตำบลเกาะสีชัง เพื่อคัดแยกและกำจัดให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล
ทั้งนี้ ความร่วมมือหรือปฏิบัติการการบริหารจัดการระบบนิเวศชุมชนของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก ๓) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ได้กำหนดมิติการขับเคลื่อนระบบนิเวศชุมชนจากฐานคิด
“ต้องอนุรักษ์และฟื้นฟู ดิน น้ำ ป่า ให้เป็นระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อดิน น้ำ ป่า สมบูรณ์จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างระบบอาหารปลอดภัย และเป็นปราการป้องกันการเกิดภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ ของชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการบริหารจัดการขยะชุมชนให้เหมาะสมจะนำไปสู่การสร้างทางเลือกพลังงานหมุนเวียน และจะเป็นการป้องกันความเสื่อมโทรมและเสียหายให้แก่ระบบนิเวศชุมชน ซึ่งทั้งหมดคือ การปรับตัว (Adaptation) และการบรรเทา(Mitigation) ในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ภาวะโลกร้อน) โดยชุมชนท้องถิ่น”[3]
VDO รณรงค์ คลิกที่นี่
[1] สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2556). ดิน น้ำ ลม ไฟ สมดุลสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากรพระราชดำริ. กรุงเทพฯ : บริษัท โกลเด้น ไทม์ พริ้นติ้ง จำกัด.
[2] สถาบันบรมราชนก กระทรวงสาธารณะสุข. (2556). Milestones in Health Promotion: Statements from global conferences. โครงการสวัสดิการวิชาการ. (ครั้งที่ 1). โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข : บริษัท ธนาเพรส จำกัด.