หากจะถามว่าอะไรจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในครั้งนี้ คำตอบที่น่าจะเป็นแนวทางการแก้ไขคือ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าไม้ และการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนให้เป็นพลังงานหลักของทุกประเทศ รวมถึงการจัดการขยะไม่ให้ส่งผลต่อการตกค้างสู่สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ และที่สำคัญที่สุดมนุษย์ควรที่จะสร้างความสัมพันธ์กับธรรมชาติ โดยการอ่อนน้อมต่อสิ่งแวดล้อม และเข้าไปสัมผัสกับธรรมชาติ (Connecting People to Nature)
เมื่อมนุษย์และธรรมชาติหลอมรวมเป็นมิตรที่ดีต่อกัน ย่อมจะส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเกื้อกูลต่อสรรพชีวิตมากมายที่อาศัยอยู่ร่วมกันบนโลกสีน้ำเงินใบนี้ และในท้ายที่สุดการป้องกันอุณหภูมิโลกที่ไม่ให้สูงถึง 2 องศาเซลเซียสจะไม่เป็นเพียงแค่ความหวังอีกต่อไป
ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (Anthropogenic greenhouse gas emission) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6). ชนิดของก๊าซเรือนกระจก. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
http://www.tgo.or.th/2015/thai/content.php?s1=7&s2=16&sub3=sub3
Climate Change หมายถึง การเปลี่ยนแปลงใดๆ ของภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทําของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม อันทําให้ส่วนประกอบของบรรยากาศ โลกเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติในช่วงเวลาเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเกิด จากก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ก๊าชเรือนกระจกมีคุณสมบัติในการดูดกลืนความร้อน ทําให้ความ ร้อนไม่สามารถระบายออกไปนอก บรรยากาศโลกได้ทําให้โลกร้อนขึ้นจากปรากฏการณ์เรือนกระจก ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ. อำนาจ ชิดไธสง.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย เล่มที่ 2 แบบจำลองสภาพภูมิอากาศ และสภาพภูมิอากาศในอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2553.
ดร.ชโลทร แก่นสันติสุขมงคล. ชวน "ปฏิวัติอุตสาหกรรม" อีกรอบทางออกเดียวชะลอโลกร้อน. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
http://www.tgo.or.th/2015/thai/news_detail.php?id=807
IPCC Fifth Assessment Report. Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). 2014
[5] สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ข้อมูลตัวชี้วัด “อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี”. สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
http://www.onep.go.th/env_data/2016/01_70/
[6] บีบีซีไทย.เจาะเนื้อหาข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.bbc.com/thai/international-40129206
[7] เครดิตภาพ : เริงชัย คงเมือง