SMART GHG APPLICATION (SGA)
แอปพลิเคชันสำหรับคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการกักเก็บคาร์บอน ที่ได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ถูกพัฒนาขึ้นด้วยหลักการ SMART (อัตถจริยา, 2564) เพื่อสร้างความยั่งยืนในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ในระดับบุคคล/ครัวเรือน, หมู่บ้าน, และตำบล (Sustainability : S) โดยชุมชนท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการชุดข้อมูลได้ด้วยตนเอง (Management : M) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการลดการปล่อย GHG จากการเพาะปลูก ข้าว, ผัก, พืชไร่, และไม้ผลไม้ยืนต้น (Ability : A) รวมถึงการสร้างเสริมภูมิต้านทานคุ้มกันในการกักเก็บคาร์บอนของทรัพยากรป่าไม้/พื้นที่สีเขียว (Resilience : R) ด้วยระบบเทคโนโลยีที่จะดำเนินการประมวลผลจากชุดข้อมูลที่ป้อนเข้ามาในระบบแล้วแปรผลการคำนวณให้อยู่ในรูปแบบแผนภูมิ, ตาราง, และแผนที่บนสมาร์ทโฟนที่ใช้งานได้สะดวกทุกที่ทุกเวลา (Technology : T)
จากการที่ SGA เป็นเครื่องมือประเมินผลการปล่อย GHG จากการเพาะปลูกจะส่งผลทำให้เกิดการยกระดับสร้างสินค้าเกษตรภายในชุมชนท้องถิ่นให้เป็นสินค้าเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการกักเก็บคาร์บอนของทรัพยากรป่าไม้ฯ ที่จะถูกพัฒนาเป็นการซื้อขายคาร์บอนเครดิตของชุมชนท้องถิ่น โดยทั้งชุดข้อมูลการเกษตรและทรัพยากรป่าไม้ฯ จะสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นข้อมูลพื้นฐาน (Baseline) ในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับระดับบุคคล/ครัวเรือน, หมู่บ้าน, ตำบล, อำเภอ, จังหวัด, ภูมิภาค, และประเทศไทย ที่สามารถใช้อ้างอิงได้ตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)

ฟังก์ชั่นของแอปพลิเคชันสมาร์ทจีเอชจี
- สามารถบันทึก แก้ไข และเพิ่มข้อมูลกิจกรรมการเพาะปลูกข้าว ผัก พืชไร่ ไม้ผล และข้อมูลทรัพยากรป่าไม้/พื้นที่สีเขียวได้ทุกที่ทุกเวลา
- สามารถรายงานผลข้อมูลในรูปแบบแดชบอร์ดที่สวยงามและเข้าใจง่าย
- สามารถรายงานค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาร์บอนฟุตพริ้นท์ การกักเก็บคาร์บอน ตามตำแหน่งแปลงเพาะปลูก/แปลงป่าไม้ฯ
ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ
- สามารถวิเคราะห์/ประเมินการใช้ปัจจัยการผลิตในกระบวนการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย
- สามารถวางแผนการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- สามารถวางแผนใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในอนาคต
ประโยชน์ด้านสังคม
- พัฒนาเกษตรกรและอาสาสมัครให้มีองค์ความรู้และสามารถใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- สร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและยกระดับมาตรฐานสินค้า/บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น
- ส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรมีรายได้และมั่นคง และลดการย้ายถิ่นฐานของคนในชุมชนท้องถิ่น
ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม/รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- สามารถติดตามค่าการปล่อยและวางแผนการลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมในการเพาะปลูกพืชของเกษตรกรทั้งในระดับ บุคคล ชุมชนท้องถิ่น และระดับประเทศ
- สามารถติดตามค่าการกักเก็บคาร์บอนและวางแผนการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ฯ ทั้งในระดับ บุคคล ชุมชนท้องถิ่น และระดับประเทศ
- สามารถพัฒนาเป็นฐานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการกักเก็บคาร์บอนของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและการดำเนินงานเชิงนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยตามความตกลงของนานาชาติ
ประโยชน์ด้านสุขภาพ
- สามารถวางแผนและควบคุมการเผาเศษวัสดุในการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก เพื่อลดมลพิษทางอากาศ
- ลดการปนเปื้อนสารเคมีในเลือดของเกษตรกรด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเพาะปลูกเป็นการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- ส่งมอบอาหารที่เป็นมิตรกับสุขภาพให้แก่ผู้บริโภค

สามารถดาวน์โหลด Android mobile application ผ่าน Google Play Store หรือ
คลิกที่นี่